วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม



  เนื่องจากสิ่งแวดลอมมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากมายดังนี้               1. เป็นแหล่งปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต                มนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมเพื่อการดํารงชีวิตดังนี้                    1.1 อาหารการดํารงชีวิตของมนุษย์ต้องกินอาหารซึ่งมีแร่ธาตุและพลังงานต่างๆ จากพืชและสัตว์ อาศัยน้ำที่หมุนเวียนอยู่ในธรรมชาติในการดื่มและใช้ อาศัยดินเป็นแหล่งผลิตอาหารทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ มนุษย์บางกลุ่มอาจกินเฉพาะพืชหรือเฉพาะสัตว์ กินทั้งอาหารสดและอาหารที่ทําให้สุกแล้ว การแสวงหาอาหารของมนุษย์ได้มีการพัฒนามาโดยลําดับ เริ่มต้นแสวงหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ การนําอาหารมาเก็บสะสมไว้ที่บ้าน จนถึงการรู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และการผลิตอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติได้เอง                   1.2 ที่อยู่อาศัย เดิมทีมนุษย์อาศัยอยู่ตามแหล่งธรรมชาติ ต้องอาศัยหลับนอน พักผ่อนเลี้ยงดูสมาชิกครอบครัวตามร่มไม้ หุบเขาหรือถ้ำ ดัดแปลงธรรมชาติเพื่อป้องกันภัยที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม แดดร้อน ฯลฯ ตลอดจนการสร้างที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันภัยจากธรรมชาติ สัตว์อื่น รวมทั้งการป้องกันภัยจากมนุษย์ด้วยกันเอง การเลือกที่อยู่อาศัยก็มักเลือกตามแหล่งที่สามารถหาอาหารและน้ำได้สะดวกปลอดภัย ดังนั้นการเลือกทําเลที่อยู่อาศัยเป็นความตั้งใจและเป็นการกระทําที่ต้องมีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ                   1.3 เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนุ่งห่มในสมัยแรกนั้นเป็นการนําใบไม้ เยื่อไม้และหนังสัตว์ที่หาได้มาห่อหุ้มร่างกายเพื่อให้ความอบอุ่น หรืออาจนํามาประดับร่างกายเพื่อแสดงความสามารถในการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ จากนั้นมีการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจากวัสดุที่หาได้ในถิ่นที่อยู่อาศัยสําหรับสมาชิกในครอบครัว ต่อมาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของมนุษย์ทําให้เกิดการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเพื่อการค้า                   1.4 ยารักษาโรค การสังเกตสิ่งแวดล้อมมนุษย์เริ่มใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคภัยไข.เจ็บ โดยเอามาทั้งต้น กิ่ง ก้าน เปลือก แก่น ดอก ราก ต้มกินหรือทาครั้งละมากๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ตัวทําละลายที่เหมาะสม เช่น แอลกอฮอล์ อีเทอร์ สกัดเอาตัวยาแท้ ๆ จากส่วนต่างๆ ของต้นไม้ แล้วทําให้ตัวทําละลายระเหยไป เหลือแต่ตัวยาไว้ทําให้เป็นผงหรือผลึก ใช้กินแต่น้อย   นอกจากการสกัดตัวยาจากสมุนไพร มนุษย์ยังใช้วิธีสังเคราะห์ยาเลียนแบบตัวยาในสมุนไพรโดยใช้วัตถุดิบจากสิ่งแวดล้อม               2. สิ่งกําหนดการตั้งถิ่นฐานและชุมชน               ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นเป็นปัจจัยในการดํารงชีวิตในบริเวณพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบรอบๆ ทะเลสาบ ที่ราบชายฝั่งทะเล จึงมักเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่ปรากฏหลักฐานอยู่จนปัจจุบัน เช่น อียิปต์ กรีก โรมัน จีน อินเดียและได้กลายเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นของโลก               3. ตัวกําหนดลักษณะอาชีพ               มนุษย์ในแต่ละท้องถิ่นจะประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ตามสภาพของพื้นที่และลักษณะของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น บริเวณที่ราบลุ่มมักจะมีอาชีพทําเกษตรกรรม บริเวณชายทะเลหรือเกาะต่างๆ ก็จะทําการประมง บริเวณที่เป็นแหล่งแร่ก็จะทําเหมืองแร่เป็นอาชีพหลัก นอกจากนี้สภาพของพื้นที่และลักษณะของทรัพยากรธรรมชาติยังมีผลต่อการผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพที่แตกต่างกันอีกด้วย               4. ตัวกําหนดรูปแบบของวัฒนธรรม               รูปแบบวัฒนธรรมของมนุษย์แต่ละท้องถิ่น มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการดําเนินชีวิตที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น เช่น การแต่งกาย การกินอาหาร ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนความเชื่อและค่านิยมต่างๆ ล้วนถูกกําหนดให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นทั้งสิ้น นอกจากนี้สภาพแวดล้อมยังมีอิทธิพลต่อลักษณะนิสัยใจคอของมนุษย์อีกด้วย เช่น ในเขตอบอุ่นผู้คนมักมีนิสัยสุขุมรอบคอบ ใจเย็น กระตื้อรือร้น และขยัน แต่ในเขตร้อนผู้คนมักจะมีนิสัยที่ตรงข้ามกับเขตอบอุ่น เช่น เฉื่อยชา เกียจคร้าน ใจร้อน หงุดหงิดอารมณเสียง่าย ขาดความรอยคอบ ส่วนคนที่อาศัยอยู่ในป่ามักมีนิสัยดุร้าย ชอบการต่อสู้ และผจญภัย               5. กิจกรรมทางด้านการเมือง               หน่วยการเมืองที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของโลก จะรวมตัวเป็นหน่วยเดียวกันได้จะต้องมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกันมากที่สุด ส่วนการดําเนินกิจกรรมทางการเมืองจะเป็นมิตรหรือศัตรูกันหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความกดดันทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นต้นว่าถ้าเกิดความไม่สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติกับจํานวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น หรือพรมแดนธรรมชาติที่เป็นร่องน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หรือเกิดความแตกต่างในลัทธิความเชื่อทางศาสนา ตัวอย่างเช่น การที่กองทัพญี่ปุ่นเขายึดครองเกาะไต้หวัน และแมนจูของจีนในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเพาะญี่ปุ่นเกิดปัญหาเรื่องอาหารไม่พอเพียงสําหรับเลี้ยงประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และดินแดนของจีนทั้งสองแห่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชผลที่ญี่ปุ่นต้องการ หรือกรณีความแตกต่างในเรื่องลัทธิศาสนาจนเป็นเหตุทําให้อินเดียและปากีสถานต้องแยกหน่วยการเมืองออกจากกันและเป็นศัตรูต่อกันจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น               จะเห็นได้ว่า สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความสําคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่คอยค้ำจุนความเจริญของมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน การศึกษาทางวิ ทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมทําให้ ประชาชนหรือชุมชนรู้ จักใช้ ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นอย่างชาญฉลาดแล้ว ประชาชนจะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจอยู่ดีกินดีมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ในทางตรงกันข้าม ประเทศหรือชุมชนใดที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติหรือประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ และไม่ตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ขาดความระมัดระวัง และความรับผิดชอบต่อการใช้และบํารุงรักษา ก็จะทําให้ทรัพยากรธรรมชาติต้องสูญเสียไปอย่างไม่คุ้มค่าและขาดแคลนในที่สุด แล้วชุมชนหรือประเทศนั้นก็ตกอยู่ในฐานะที่ยากจน คุณภาพชีวิตต่ำ ปัญหาความวุ่นวายต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้              หลายต่อหลายครั้งที่พบว่า ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมบางส่วนเนื่องมาจากผลการพัฒนาที่มิได้คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแนวความคิดที่ถูกต้องในการพัฒนาก็คือ การพัฒนาที่คํานึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลการพัฒนานั้นก่อให้เกิดผลดีแก่ชีวิตมนุษย์ ในปัจจุบันรัฐบาลของหลายประเทศจึงหันมาให้ความสําคัญในเรื่องของการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ในระดับมาตรฐาน นั่นคือการอยู่ดีกินดีของประชาชนในสังคมให้ดีขึ้นภายในกรอบและขอบเขตความเป็นจริง ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเอกลักษณ์ระดับมาตรฐานสภาพความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม สังคม              การพัฒนาเพื่อคุณภาพแห่งชีวิตนั้น ก็คือความพยายามร่วมกันในอันที่จะใช้ทรัพยากรอันมีค่าของชาติให้ เกิดผลดี ที่สุดและสอดคล้องกับชีวิตจิตใจความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชาติให้มากที่สุดในความพยายามร่วมกันนี้จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นไปในรูปแบบของสหวิทยาการ (วิชาการหลายสาขาร่วมกัน) เพื่อให้แน่ใจได้ว่าโครงการพัฒนาทั้งมวลจะต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือหากว่ามีก็จะต้องน้อยที่สุด              หลักปฏิบัติพื้นฐานอันเป็นหลักทั่วไปของโครงการพัฒนาต่างๆ ควรจะต้องคํานึงถึงหลักสําคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้                    1. ผลดีในทางเศรษฐกิจ                    2. ความเหมาะสมในทางสังคม                    3. เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางเทคโนโลยี                    4. เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในด้านสิ่งแวดล้อม

"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (Sustainable Development)


"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (Sustainable Development)



"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (SUSTAINABLE DEVELOPMENT)

ที่มาคอลัมน์ ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์  โดย สฤณี อาชวานันทกุล www.fringer.org  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3987 (3187)
นับวันผลเสียของวิถีการพัฒนาแบบ "สุดโต่ง" ที่เน้นเรื่องอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพียงมิติเดียว โดยไม่สนใจมิติอื่นๆ โดยเฉพาะคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ก็ยิ่งปรากฏให้เราเห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในแทบทุกประเทศในโลก เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ รัฐบาล และองค์กรโลกบาลหลายแห่งหันมาให้ความสำคัญ กับแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (sustainable development) มากขึ้นเรื่อยๆ
ในรายงานพัฒนามนุษย์ (Human Development Report) ประจำปี ค.ศ.1996 เครือข่ายเพื่อการพัฒนาระดับโลก แห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme หรือยูเอ็นดีพี) ระบุว่า "คุณภาพ" ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสำคัญกว่า "อัตรา" การเจริญเติบโตดังกล่าว ยูเอ็นดีพีขยายความว่า แบบแผนการเจริญเติบโตที่ทำความ เสียหายในระยะยาวมีทั้งหมด 5 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ การเติบโตที่ไม่สร้างงานให้กับประชากร (rootless growth), การเติบโตที่ทิ้งห่างกระแสประชาธิปไตย (voiceless growth), การเติบโตที่กดทับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจนสิ้นสลาย (rootless growth), การเติบโตที่ทำลาย สิ่งแวดล้อม (futureless growth), และการเติบโตที่ประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือคนรวยเท่านั้น (ruthless growth)
ยูเอ็นดีพีสรุปว่า การเติบโตทั้ง 5 รูปแบบดังกล่าวนั้นล้วนเป็นการเติบโตที่ "ทั้งไม่ยั่งยืน และไม่สมควรจะยั่งยืน"
แนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ไม่ใช่เรื่องใหม่ วัฒนธรรมมากมายในประวัติศาสตร์มนุษย์ รวมทั้งวัฒนธรรม ชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้มองเห็นความจำเป็นของการสร้าง ความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่เป็นเรื่อง "ใหม่" ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ คือความพยายามที่จะนิยาม สร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ และแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของแนวคิดนี้ในบริบทของสังคมอุตสาหกรรมและข้อมูลข่าวสารระดับโลก
เราอาจสาวรากของแนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ไปถึงหนังสือเรื่อง "Silent Spring" (ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบงัน) โดย Rachel Carson ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี 1962 ตีแผ่ผลกระทบของยาฆ่าแมลง ที่เรียกว่า DDT ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้วยข้อมูลที่หนักแน่นน่าเชื่อถือ ทำให้เรื่องนี้อยู่ในความสนใจของประชาชนอเมริกันอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การประกาศแบน DDT ในปี 1972 นักสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ยกย่อง Silent Spring ว่าเป็น "จุดเปลี่ยน" ที่ทำให้คนจำนวนมาก หันมาตระหนักถึงความเกี่ยวโยงอย่างแนบแน่นระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" หมายความว่าอะไร และมีลักษณะอย่างไร ? วันนี้ผู้เขียนจะเก็บข้อความจากเนื้อหาในเว็บไซต์ Sustainability Development Gateway (SD Gateway-http://sdgateway.net/) มาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้ :
"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" สำหรับแต่ละคนย่อมมีความหมายไม่เหมือนกัน เนื่องเพราะ "ระยะยาว" ของแต่ละคน อาจยาวสั้นแตกต่างกัน แต่นิยามที่คนนิยมอ้างอิงมากที่สุดมาจากรายงานชื่อ "อนาคตร่วมของเรา" (Our Common Future หรือที่รู้จักในชื่อ "รายงานบรุนด์ท์แลนด์" -the Brundtland Report) โดยรายงานดังกล่าว ระบุว่า "การพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึงวิถีการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถของคนรุ่นหลัง ในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา"
เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ได้อยู่ที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หากอยู่ที่การปรับปรุงคุณภาพชีวิต ของประชากรโลก ในทางที่ไม่เพิ่มระดับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินศักยภาพของธรรมชาติ ที่จะผลิตมันให้มนุษย์ใช้อย่างไร้ขีดจำกัด การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความเข้าใจว่า การนิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลยมีผลกระทบ และเราต้องหาหนทางใหม่ๆ ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงสถาบันและพฤติกรรมของปัจเจกชน
แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนรุดหน้า ไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ในปี 1992 ผู้นำนานาชาติที่มาพบกันในการประชุมสุดยอดแห่งโลก (Earth Summit) ในกรุงริโอ เดอ จาเนโรในบราซิล นำเค้าโครงของรายงานบรุนด์ท์แลนด์ไปสร้างสนธิสัญญาและแถลงการณ์เกี่ยวกับประเด็นหลักๆ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ผู้เข้าประชุมยังได้ร่วมกันร่างแผนกลยุทธ์กว้างๆ เรียกว่า "Agenda 21" เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับงานด้าน สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในอนาคต หลังจากการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ดังกล่าว ก็มีกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจ รัฐบาลท้องถิ่น ไปจนถึงองค์กรโลกบาลอย่างธนาคารโลก ที่นำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปตีความ ต่อยอด และปรับใช้ในบริบทของตัวเอง จวบจนปัจจุบัน และยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นแนวคิดลื่นไหลที่วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ก็มีลักษณะสำคัญบางประการที่อยู่ภายใต้ เส้นความคิดหลายกระแส ได้แก่
1) ความเท่าเทียมกัน (equity) และความยุติธรรม (fairness) เป็นประเด็นสำคัญ การพัฒนาอย่างยั่งยืน อยากตอบสนองความต้องการของคนจนและประชากรผู้ด้อยโอกาส ไอเดียเรื่องความเท่าเทียมกัน และความยุติธรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญในนิยามของ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เพราะตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ถ้าเราละเลยผลกระทบจากการกระทำ ของเราต่อคนอื่นในโลกที่เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน เราก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเองในอนาคตด้วย
เนื่องจากระบบเศรษฐกิจและนโยบายสาธารณะของเราส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร เราจึงต้องเปลี่ยนแปลงระบบเหล่านี้ ความยุติธรรมหมายความว่า ประเทศแต่ละประเทศ ควรมีโอกาสในการพัฒนาตัวเองบนพื้นฐานของคุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคมของตัวเอง โดยไม่ปฏิเสธว่าประเทศอื่นๆ ก็ล้วนมีสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน หนึ่งในความท้าทาย ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือ เราจะปกป้องสิทธิของคนที่ไม่มีสิทธิออกเสียงได้อย่างไร คนรุ่นหลังที่ยังไม่เกิดไม่สามารถออกความเห็น หรือปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา ในกระบวนการตัดสินใจต่างๆ ของคนรุ่นปัจจุบัน ถ้าการพัฒนาจะยั่งยืนได้จริง เราจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของพวกเขาด้วย
2) มีมุมมองระยะยาว (long-term view) ภายใต้หลักความรอบคอบ (precautionary principle) "ระยะยาว" ยาวแค่ไหน ? ในสังคมตะวันตกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การวางแผนของภาครัฐมองระยะเวลาเพียง 3-5 ปีเท่านั้น ปัจจุบัน "ระยะยาว" ในความหมายของ นักค้าหุ้นและนักค้าเงินคือระยะเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ในขณะที่ชาวอินเดียนแดงในอเมริกาวางแผนสำหรับ "คนรุ่นที่ 7 นับจากนี้" พวกเขาวางแผนเป้าหมายและกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อคนรุ่นหลังอีกเจ็ดชั่วคน เท่ากับว่าวางแผนล่วงหน้าถึง 150 ปีทีเดียว สำหรับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้เชี่ยวชาญบางคนเสนอว่า ตราบใดที่คนรุ่นหนึ่งคิดถึงคนรุ่นต่อไป (ประมาณ 50 ปี) ก็แปลว่าคนทุกรุ่นจะได้รับการดูแล แน่นอนถ้าเรามองเห็นว่าเรื่องใดก็ตาม จะส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตที่ไกลกว่านั้น เราก็ควรจะวางแผนให้ยาวขึ้น ไม่มีคนรุ่นไหนสามารถการันตีผลลัพธ์ในอนาคตที่พยากรณ์ไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีคนรุ่นไหน ที่ควรทำเป็นมองไม่เห็นผลลัพธ์ที่พยากรณ์ได้
ในโลกที่เรารู้แล้วว่าทุกมิติมีความเกี่ยวโยงและส่งผลกระทบซึ่งกันและกันเพียงใด ปฏิสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนกำลังเร่งอัตราการเปลี่ยนแปลงและการก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในสถานการณ์เช่นนี้ หลักความรอบคอบช่วยแนะแนวให้เราได้ หลักการ ชุดนี้บอกว่า เมื่อกิจกรรมใดๆ ก็ตามเพิ่มขีดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพมนุษย์ เราควรต้องใช้มาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์อาจจะยังไม่สามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผลได้ทั้งหมด
3) การคิดแบบเป็นระบบ (systems thinking) ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เป็นเวลานานกว่า 2 ศตวรรษแล้วที่เรารู้ว่า โลกนี้เป็นระบบปิดที่มีทรัพยากรจำกัด เมื่อนักสำรวจทำงานสำรวจผิวดิน และพื้นน้ำสำเร็จลง คนก็ค่อยๆ เข้าใจว่าโลกนี้ไม่มีทรัพยากร "ใหม่" เรามีโลกเพียงใบเดียว กิจกรรมทั้งหมดของเราเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของระบบธรรมชาติที่ใหญ่ยิ่งกว่า เราต้องมองเห็นว่าระบบที่เดินด้วยน้ำมือมนุษย์ทั้งหมดนั้นอยู่ภายในระบบนิเวศที่ใหญ่กว่า ก่อนที่จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน กับสิ่งแวดล้อม และทำให้เรามั่นใจได้ว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ จะอยู่รอดต่อไปในอนาคต
ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดที่มนุษย์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ ไม้ เหล็ก ฟอสฟอรัส น้ำมัน และทรัพยากรอื่นๆ อีกหลายร้อยชนิด ล้วนมีขีดจำกัดทั้งในแง่ของแหล่งที่มาและแหล่งที่ไป (sink) แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนบอกเราว่า เราไม่ควรนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ในอัตราที่เร็วกว่าความสามารถของเราในการผลิตทรัพยากรทดแทน และเราก็ไม่ควรทิ้งทรัพยากรธรรมชาติในอัตราที่เร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถดูดซับมันกลับเข้าไปในระบบ ถึงแม้ว่าปัญหาทรัพยากรร่อยหรอจะเป็นประเด็นกังวลหลักของนักสิ่งแวด ล้อมในอดีต วันนี้นักสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ เป็นกังวลเรื่องที่เราจะไม่เหลือแหล่งทิ้งทรัพยากรแล้วมากกว่า ปัญหาโลกร้อน รูในชั้นโอโซน และความขัดแย้งเรื่องการ ส่งออกขยะอันตราย ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจากการที่เราพยายามทิ้งทรัพยากร เร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถรองรับได้
การคิดแบบเป็นระบบผลักดันให้เราเข้าใจว่า ถึงแม้โลกจะมีเพียงใบเดียว มันก็เป็นโลกที่ประกอบด้วยระบบย่อย (sub systems) มากมายที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน ปัจจุบันการพัฒนาโมเดลต่างๆ เพื่ออธิบายระบบย่อยเหล่านี้ได้รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โมเดลเหล่านี้เป็นกรอบคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับการเลือกดัชนีชี้วัดความคืบหน้าของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ระบบย่อยต่างๆ ในโลกล้วนเชื่อมโยงกันผ่านกระบวนการที่ภาษาวิทยาศาสตร์เรียกว่า "ห่วงโซ่ตอบกลับ" (feedback loop) อันสลับซับซ้อน วิทยาศาสตร์แขนงใหม่ที่ศึกษาความซับซ้อนของระบบต่างๆ บอกเราว่า ในระบบบางระบบ เหตุการณ์เล็กมากๆ อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ขนาดใหญ่ที่รุนแรงและพยากรณ์ไม่ได้ล่วงหน้า ด้วยการ จุดชนวนซีรีส์เหตุการณ์ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้เรารู้แล้วว่าการปล่อยมลพิษในซีกโลกเหนือส่งผลให้ชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกาบางลง และเร่งอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังในซีกโลกใต้ วิกฤตการเงินในเอเชียส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และสงครามระหว่างชาติพันธุ์ในทวีปแอฟริกากลางก่อให้เกิดการอพยพขนานใหญ่ของประชากรไปยังบริเวณใกล้เคียง สร้างแรงตึงเครียดต่อระบบในประเทศเหล่านั้นจนถึงจุดแตกหัก เป็นชนวนให้เกิดวิกฤตและการอพยพต่อไปเป็นทอดๆ
ตั้งแต่ผู้นำโลกที่ร่วมประชุม Earth Summit ประจำปี 1992 ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้เกิดเป็นรูปธรรม ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา แนวคิดนี้คืบหน้าไปมากน้อยเพียงใด มีกรณีใดบ้างเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีกรณีใดบ้างที่ต้อง

ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้ (Values & Perceptions)


ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้ (Values & Perceptions)



ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้ (VALUES & PERCEPTIONS)

            ค่านิยม (Value) ความหมายทางด้านการบริหาร หมายถึง เป็นความเชื่อทีถาวรเกี่ยวกับสิ่งซึ่งเหมาะสม
 และไม่ใช่สิ่งซึ่งแนะนำพฤติกรรมของพนักงานให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ค่านิยมอาจอยู่ในรูปของการกำหนดความคิดเห็น (Ideology) 
และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในแต่ละวัน


ประเภทของค่านิยม
Phenix ใช้หลักความสนใจและความปรารถนาของบุคคลแบ่งค่านิยมออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. ค่านิยมทางสังคม (Social Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้เกิดความรักความเข้าใจและ ความต้องการของอารมณ์ของบุคคล
2. ค่านิยมทางวัตถุ (Material Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้ชีวิตร่างกายของคนเรา สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป ได้แก่ ปัจจัยสี่ คืออาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และยารักษาโรค
3. ค่านิยมทางความจริง (Truth Values) เป็นค่านิยมเกี่ยวกับความจริงซึ่งเป็นค่านิยมที่ สำคัญยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความรู้ และนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการค้นหากฎของธรรมชาติ
4. ค่านิยมทางจริยธรรม (Moral Values) เป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดี
5. ค่านิยมทางสุนทรียะ (Aesthetic Values) เป็นความซาบซึ้งใจในความดีและความงาม ของสิ่งต่างๆ
6. ค่านิยมทางศาสนา (Religious Values) เป็นค่านิยมที่เกี่ยวกับความปรารถนาความ
สมบูรณ์ของชีวิต รวมทั้งความศรัทธา และการบูชาในทางศาสนาด้วย จากประเภทต่างๆ ของค่านิยมข้างต้น ค่านิยมความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน ที่ศึกษาใน การวิจัยครั้งนี้เป็นค่านิยมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางสังคมวัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมทางสังคมและทางจริยธรรม

หน้าที่ของค่านิยม
สุนทรี โคมิน และสนิท สมัครการ กล่าวถึง หน้าที่ของค่านิยม 7 อย่างไว้ดังนี้
a.ค่านิยมจูง (Lead) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงจุดยืนของตนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสังคมออกมาอย่างชัดเจน
b.ค่านิยมเป็นตัวช่วยกำหนด (Predispose) ให้บุคคลนิยมอุดมการณ์ทางการเมืองบางอุดมการณ์มากกว่าอุดมการณ์อื่น
c.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ช่วยนำ (Guide) การกระทำให้ทำบุคคลประพฤติ และแสดงตัวต่อผู้อื่นที่ประพฤติเป็นปกติอยู่ทุกวัน
d.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ในการประเมิน (Evaluate) ตัดสินการชื่นชมยกย่อง การตำหนิ ติเตียนตัวเอง และการกระทำของผู้อื่น
e.ค่านิยมเป็นจุดกลางของการศึกษา กระบวนการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
f.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้ในการชักชวน (Persuade) หรือสร้างประสิทธิผลต่อคนอื่น
g.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้เป็นฐาน (Base) สำหรับกระบวนการให้เหตุผลต่อความนึกคิด และการกระทำของตน


            การรับรู้ คือ การตีความหรือแปลความหมายข้อมูล (กระแสประสาท) จากการสัมผัส ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่าสิ่งที่มาสัมผัสนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร ในการตีความหรือแปลความหมายนี้ต้องอาศัยการจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้า ประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ผ่านมา อารมณ์ และแรงจูงใจ เช่น เรามองเห็นจุดดำ ๆ จุดหนึ่งอยู่ลิบ ๆ บนท้องฟ้า (การสัมผัส) เรายังไม่รู้ว่าเป็นอะไร ต่อเมื่อจุด ๆ นั้นเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ จนมองเห็นชัด เราจึงรู้ว่าที่แท้จริง ก็คือนกตัวหนึ่ง (การรับรู้) นั่นเอง หรือถ้าเราเห็นรูป เราจะรับรู้ทันทีว่า คือรูป สี่เหลี่ยม ( ) เพราะเราจัดหมวดหมู่โดยพิจารณาถึงรูปที่สมบูรณ์ของ นั่นเอง การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้ามีหลายลักษณะเช่น จัดโดยอาศัยความคล้ายคลึงกัน จัดโดยอาศัยความต่อเนื่อง เป็นต้น การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้านี้ช่วยให้เราแปลความหมาย (รับรู้) ได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น การรับรู้ของคนเรามีหลายชนิด ดังต่อไปนี้

            1. การได้ยิน เราสัมผัสคลื่นเสียงทางหูแล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้น จนรับรู้ว่าเป็นเสียงอะไร และเรายังสามารถบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทางของแหล่งกำเนิดเสียงได้อีกด้วย

            2. การมองเห็น เราสัมผัสคลื่นแสงจากสิ่งเร้าต่าง ๆ ทางนัยน์ตาแล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้ว่าสิ่งเร้าที่เห็นนั้นคืออะไร

            3. การได้กลิ่น เราสัมผัสโมเลกุลของไอที่ระเหยมาจากสิ่งเร้าต่าง ๆ ทางจมูกแล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้ว่าเป็นกลิ่นอะไร เหม็น หอม เน่า หรือ กลิ่นเครื่องเทศ

            4. การรู้รส เราสัมผัสสิ่งเร้าบางอย่างโดยลิ้น แล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้ว่าสิ่งเร้านั้นมีรสอะไร หวาน เค็ม หรือขม เป็นต้น

            5. การรับรู้ทางผิวกาย เราสัมผัสสิ่งเร้าที่มากระตุ้นผิวกาย แล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้เราว่าสัมผัสอะไร นอกจากนี้ยังรู้ถึงอุณหภูมิและความเจ็บปวดที่เกิดจากการสัมผัสอีกด้วย

            6. การรับรู้ความรู้สึกภายในของร่างกาย ได้แก่การรับรู้ตำแหน่งหรือการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ โดยไม่ต้องอาศัยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ข้างต้น เช่น ถึงแม้หลับตาเราก็สามารถตักอาหารใส่ปากได้ถูกต้อง เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากเรารับรู้ว่าปาก แขน มือ ฯลฯ ของเราอยู่ตำแหน่งใดเราจึงทำเช่นนั้นได้ การรับรู้นี้เกิดจากการแปลความหมายของสภาวะกล้ามเนื้อ เอ็น หรือข้อต่อต่าง ๆ ขณะยืดตัว หดตัวหรือคลายตัว เป็นสำคัญ การรับรู้ความรู้สึกภายในของร่างกายอีกชนิดหนึ่ง คือการทรงตัว ทำให้เราทราบว่าร่างกายเรากำลังอยู่ท่าไหนอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลหรือไม่ ถ้าไม่ก็พยายามปรับเข้าสู่สมดุลต่อไป มิฉะนั้นจะรู้สึกคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรืออาเจียนได้

เมื่อคุณดูวิดิโอนี้คุณคิดอย่างไร?
ค่านิยมของคนสมัยนี้ต่างจากคนสมัยก่อนมิเช่นนั้นคงไม่เกิดเหตุการณ์เช่นในคลิป ถ้าเด็กสมัยนี้รู้จักรักนวลสงวนตัวและไม่เชื่อใจคนที่เราไม่รู้จักเรื่องแบบนี้คงไม่เกิดขึ้นคุณคิดไง

ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล- ปาเลสไตน์ พ.ศ. 2552


ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล- ปาเลสไตน์ พ.ศ. 2552


ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล- ปาเลสไตน์ พ.ศ.  2552

ปัญหาปาเลสไตน์-อิสราเอลครั้งใหม่ จุดประทุการก่อการร้ายปี 2552 (1)

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน 

ทันทีที่ข่าวฝูงบินรบของอิสราเอลกระหน่ำโจมตีดินแดนฉนวน กาซาของปาเลสไตน์ (อาหรับจะอ่านว่า "ฟิลิสตีน) ในปลายปี 2551 (ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 300 คน) ถือว่าเป็นวันนองเลือดครั้งใหญ่ที่สุดของวิกฤตความขัดแย้งตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อยาวนานกว่าหลายทศวรรษและจะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งและสันติภาพของโลกตลอดปีใหม่ 2552 อย่างแน่นอน (ท่านคงจะเห็นภาพความสูญเสีย ความโกรธแค้น การประท้วงและปฏิกิริรยามากมายผ่านจอโทรทัศน์และโลกไซเบอร์) ลำดับปัญหาความขัดแย้งปาเลสไตน์-อิสราเอลโดยสังเขป
แผ่นดินปาเลสไตน์-อิสราเอลมีหลายชนชาติเข้ามาจับจองพื้นที่สร้างบ้านเมืองของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ชาวกันอาน (หรือ คันนาอัน) เป็นชนชาติอาหรับ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวปาเลสไตน์ (ในไบเบิลเรียกพื้นที่อาศัยของชาวกันอานว่า แผ่นดินกันอานหรือคันนาอัน) ชาวกิบบิโอน ชาวฟิลิสติน (ต่อมาชื่อฟิลิสตินนี้ได้แผลงมาเป็นชื่อ ปาเลสไตน์) 
ต่อมาเมื่อชนชาติยิว ซึ่งอพยพมาจากอียิปต์ เข้ามาดินแดนแถบนี้และเริ่มรบพุ่งแย่งชิงดินแดนจากชนพื้นเมืองที่อยู่มาแต่เดิม จนสร้างอาณาจักรอิสราเอลขึ้น แต่ต่อมาก็ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือเรียกว่าอาณาจักรอิสราเอล ส่วนตอนใต้เรียกว่าอาณาจักรยูดาย 
ถัดจากนั้นดินแดนแถบนี้ก็ถูกปกครองโดยกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นบาบิโลน อัสสิเรียน เปอร์เซีย กรีก โรมัน ในช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน ชาวยิวกลุ่มหนึ่งได้ลุกขึ้นแข็งข้อต่ออำนาจของจักรพรรดิติตัส ของโรมัน จักรพรรดิติตัสจึงสั่งทำลายกรุงเยรูซาเล็มซึ่งอยู่ทางตอนเหนือเสียจนราบคาบ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 4ปาเลสไตน์ก็ตกเป็นของชาวคริสต์
จักรพรรดิคอนสแตนติน ซึ่งเข้ารีตคริสต์ได้สร้างวิหารศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในกรุงเยรูซาเล็ม กลายเป็นสถานที่ดึงดูดให้คริสต์ศาสนิกชนเข้ามาจาริกแสวงบุญกันมากขึ้น จนกลายเป็นศูนย์กลางระบบสงฆ์และนักบวชในศาสนาคริสต์ จนเกิดการสร้างโบสถ์และวิหารต่างๆ ตามมาอีกมากมาย 
จนกระทั่งกลุ่มชาติอาหรับได้เข้ามาในดินแดนแถบนี้ในปี ค.ศ.637 ประชากรที่เคยนับถือคริสต์ก็เริ่มแปรเปลี่ยนมานับถืออิสลามมากขึ้น จนประชากรส่วนใหญ่ก็ลายเป็นชาวมุสลิมไปจนเกือบทั้งหมด 
ดินแดนนี้ได้ถูกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันครอบครองจากสองชนชาติคือ อาหรับมุสลิมและอาหรับคริสต์ มานานกว่า 800ปี ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งที่อาณาจักรออตโตมานได้ครอบครองนานถึง 400 ปี แต่ประชาชนในดินแดนแถบนี้มิได้ถูกปรับเปลี่ยนไปแต่อย่างใด แม้แต่เชื้อชาติพลเมืองก็ยังคงเป็นชาวอาหรับเสียส่วนใหญ่ เหมือนก่อนหน้าที่พวกออตโตมานบริหาร รวมถึงภาษา ประเพณี วัฒนธรรม ก็ยังคงเดิม 
ราวปี ค.ศ.1897 ได้มีการก่อตั้งกลุ่มลัทธิไซออนนิสม์ (Zionist) โดยกลุ่มชาวยิวปัญญาชนและพ่อค้ายิวที่ทำมาหากินจนร่ำรวยจากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะบนแผ่นดินอเมริกาและยุโรป มีจุดประสงค์เพื่อนำชาวยิวกลับมาตั้งถิ่นฐาน สร้างชาติยิวขึ้นมาใหม่บนแผ่นดินปาเลสไตน์
ซึ่งกลุ่มไซออนนิสต์ยึดมั่นในพระคัมภีร์ที่ว่า "พระเจ้าได้ประทานดินแดนแห่งนี้ให้กับชาวยิว"
แต่ในขณะนั้นปาเลสไตน์ตกอยู่ใต้อาณัติของอังกฤษ กลุ่มไซออนนิสต์ใช้เวลานับสิบปีลงทุนกว้านซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินชาวอาหรับอย่างถูกกฎหมาย และจัดการพัฒนาพื้นที่ที่เคยแห้งแล้งให้สามารถเพาะปลูกได้ ท่ามกลางความไม่พอใจของบรรดาชาวอาหรับเจ้าของที่ดินเดิม แต่ก็ไม่อาจทำอะไรได้เพราะได้ทำการซื้อขายกันไปแล้วตามกฎหมายทุกประการ 
ความขัดแย้งในการครอบครองดินแดนยังคงคุกรุ่นอยู่เรื่อยมา โดยมีกลุ่มไซออนนิสต์ดำเนินการอยู่ทั้งโดยเบื้องหน้าและเบื้องหลัง จนกระทั่งภาคพื้นยุโรปเกิดสงครามโลกขึ้นและได้ลุกลามขยายวงกว้างมายังดินแดนปาเลสไตน์


ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ดร.คาอิม ไวช์มันน์ นักเคมีชาวยิวสมาชิกกลุ่มไซออนนิสต์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด และได้เปลี่ยนสัญชาติจากลัตเวียมาเป็นอังกฤษ ในปี ค.ศ.1910 ได้ทำการคิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูงซึ่งสามารถผลิตเองได้โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย
เนื่องจากก่อนหน้านั้นกองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิดคอร์ไดท์ ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ อาซีโทน (Acetone) โดยอาซีโทนนี้จำเป็นต้องสั่งเข้าจากเยอรมันซึ่งเป็นคู่สงคราม
เมื่อไม่มีวัตถุดิบ อังกฤษจึงประสบปัญหาใหญ่ในการทำสงคราม จนกระทั่งได้ ดร.คาอิม มาช่วย อังกฤษจึงยังคงสามารถเข้าร่วมรบในสงครามโลกต่อไปได้ 
จากการช่วยเหลือของ ดร.คาอิม (ต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ กระทรวงทหารเรือของอังกฤษ ในช่วงปี 1916-1919) ทำให้อังกฤษซึ่งมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางในช่วงนั้น ตอบแทนโดยการมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นที่พักพิงถาวรของชาวยิว โดย ลอร์ด อาร์เธอร์ เจมส์ บาลฟอร์ (Lord. Arthur James Balfour)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอังกฤษในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามใน "สนธิสัญญาบาลฟอร์" 
ขณะเดียวกันก็เกิดสนธิสัญญาขึ้นซ้อนอีกหนึ่งฉบับที่ลงนามโดย เซอร์เฮนรี่ แม็กมาฮอน (Sir. Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษในอียิปต์ ซึ่งไปตกลงกับชาวอาหรับว่า หากชาวอาหรับช่วยอังกฤษทำสงครามกับเยอรมันแล้ว อังกฤษจะยกดินแดนบางส่วน รวมถึงปาเลสไตน์คืนให้แก่ชาวอาหรับ แต่เมื่อสิ้นสงคราม อังกฤษก็ยังคงยึดครองปาเลสไตน์โดยมิได้มอบให้แก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เนื่องด้วยฝ่ายยิวและอาหรับต่างก็อ้างสนธิสัญญาที่ตนเองถือเป็นข้ออ้างในการครอบครองดินแดน 
ปี ค.ศ.1923 องค์การสันนิบาตชาติ มอบหมายให้อังกฤษเป็นผู้ดำเนินการส่งมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่ชาวยิว แต่อังกฤษก็ยังคงครอบครองดินแดนไว้เพื่อใช้ต่อรองกับกลุ่มชาติอาหรับ ในการทำสงครามโลกครั้งที่ ซึ่งแน่นอนว่าภายหลังสงคราม ดินแดนเจ้าปัญหานี้ก็ยังไม่ได้ถูกส่งมอบให้แก่ฝ่ายไหนอยู่ดี อีกทั้งปัญหาการอพยพเข้ามาของชาวยิวจำนวนมากก็ยังเพิ่มทวีความวุ่นวายเข้าไปทุกขณะ โดยมีกลุ่มชาติอาหรับแสดงท่าทีไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด
ปี ค.ศ.1947 สมัชชาสหประชาชาติ ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย 
การแบ่งดินแดนในครั้งนั้น ทำให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวอาหรับ 
ปี ค.ศ.1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์ โดยมี ดาวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล ส่งผลให้ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้กลายเป็นชาวอิสราเอลไปโดยปริยาย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ชนชาติอาหรับ
จนกลุ่มชาติอาหรับจัดตั้งกองกำลังบุกเข้าอิสราเอล 
   อ.อับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)  

ปัญหาปาเลสไตน์-อิสราเอลครั้งใหม่ จุดประทุการก่อการร้ายปี 2552 (2)
สงครามที่กินเวลายาวนาน เดือน ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของชาติอาหรับ แต่ก็ก่อให้เกิดการรบพุ่งกันต่อเนื่องมาอีกหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะ "สงคราม วัน" ในปี ค.ศ.1967 ประธานาธิบดี นัสเซอร์ แห่งอียิปต์ ส่งกองกำลังทหารกว่าแสนนาย จากความร่วมมือของ ชาติอาหรับ เข้าถล่มอิสราเอลที่มีกองกำลังเพียง แสนนายเท่านั้น
เหตุการณ์กลับตาลปัตรกลายเป็นว่ายิวเป็นฝ่ายมีชัยในสงคราม อีกทั้งยังยึดดินแดนของฝ่ายชาติอาหรับมาเป็นของตน ไม่ว่าจะเป็นเขตกาซ่าตะวันออก แหลมซีนายของอียิปต์ ชายฝั่งตะวันตกบางส่วนของแม่น้ำจอร์แดน (เขตเวสต์แบงก์) ที่ราบสูงโกรันของซีเรีย นครเยรูซาเล็มฝั่งตะวันออก ซึ่งดินแดนที่ว่านี้ก็ยังถูกอิสราเอลครอบครองมาจนถึงปัจจุบัน
นอกเหนือจากชัยชนะครั้งนี้แล้ว อิสราเอลยังฉวยโอกาสนี้ทำการขับไล่ชาวอาหรับออกจากจากดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก 
จากความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มชาติอาหรับลดความนับถือต่อประธานาธิบดี นัสเซอร์ เป็นอย่างมาก และยังทำให้ "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" (PLO : Palestine Liberation Organization) ที่เขาก่อตั้งขึ้น ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ มีการเลือกประธานคนใหม่ที่มาพร้อมกับนโยบายที่แข็งกร้าวขึ้น นั่นคือ นายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat) 
อาราฟัต เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยที่ยังศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งกษัตริย์ฟาฮัดที่ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และได้เข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพอียิปต์เมื่อครั้งสงครามคลองสุเอซ ในปี ค.ศ.1956 จากนั้นได้ไต่เต้าขึ้นมาสู่ตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์จนกระทั่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในที่สุดอาราฟัต พยายามอย่างยิ่งในการแสดงให้ชาวโลกยอมรับการมีตัวตนของชาวปาเลสไตน์และพยายามแสดงให้เห็นถึงความชอบธรรม ในการกอบกู้ดินแดนของชาวปาเลสไตน์คืนจากอิสราเอล ในปี 1972 ณ เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี โดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "ขบวนการกันยาทมิฬ" (Black September)กลุ่มนักรบปาเลสไตน์บุกเข้าหอพักนักกีฬาโอลิมปิก พร้อมกับจับตัวนักกีฬาชาวอิสราเอลจำนวน 11 คนเป็นตัวประกัน โดยพวกเขาเรียกร้องให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยตัวนักโทษการเมืองชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เยอรมัน พร้อมทั้งร้องขอเครื่องบินเพื่อเตรียมหลบหนีเข้าอียิปต์ 
อิสราเอล นำโดยนางโกลดา เมียร์ (Golda Mier) นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นซึ่งดำเนินนโยบายแข็งกร้าวต่อปาเลสไตน์และไม่ยินยอมเจรจากับผู้ก่อการ ปฏิเสธข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ก่อการ และยังส่งหน่วยรบพิเศษที่เชี่ยวชาญในการชิงตัวประกันเข้ามาช่วยเหลือ
แต่รัฐบาลเยอรมันปฏิเสธ เนื่องจากต้องการจัดการสะสางปัญหาด้วยตนเองเพื่อรักษาหน้าของเจ้าภาพโอลิมปิก
หรืออีกประเด็นหนึ่งที่เป็นนัยยะแอบแฝง นั่นคือคือรัฐบาลเยอรมันต้องการแสดงความรับผิดชอบและลบล้างความผิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ ที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวนั่นเอง 
แต่ปฏิบัติการของทีมช่วยเหลือของเจ้าภาพผิดพลาด พลแม่นปืนของเยอรมันทำพลาดจนทำให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ เมื่อตัวประกันเสียชีวิตหมดทั้ง 11 คน ตำรวจเยอรมันเสียชีวิต นาย ผู้ก่อการร้ายเสียชีวิต ราย ถูกจับเป็น 3ราย 
โศกนาฏกรรมครั้งนี้สร้างความเคืองแค้นให้อิสราเอลอย่างมาก เพราะนอกจากตัวประกันจะเสียชีวิตหมด บรรดาชาติต่างๆ ก็ดูเหมือนจะลืมเลือนเรื่องนี้กันอย่างรวดเร็ว โดยหันสนใจการแข่งขันโอลิมปิกแทน ทั้งที่เกิดเรื่องราวอันเลวร้ายเช่นนี้แต่นานาชาติกลับยังคงดำเนินการแข่งขันต่อไปราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สิ่งเดียวที่มีการแสดงออกคือการลดธงลงครึ่งเสา ยกเว้นเพียงกลุ่มประเทศอาหรับที่ยืนยันไม่ยอมลดธง
ซึ่งเป็นการประกาศเจตนารมณ์ที่ชัดเจนถึงความชอบธรรมในการก่อการครั้งนี้ 
อิสราเอลไม่ได้นิ่งนอนใจ พวกเขาลงมือปฏิบัติการตอบโต้อย่างทันควัน นางโกลดา เมียร์ ส่งฝูงบินอิสราเอลไปถล่มฐานปฏิบัติการขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ในซีเรียและเลบานอน รวมถึงการส่งหน่วยจารชนเข้าไปจัดการกับกลุ่ม PLO ทั้งในปาเลสไตน์ กลุ่มชาติอาหรับ และหลายพื้นที่ในยุโรปอย่างลับๆ
ซึ่งปฏิบัติการหลายครั้งสร้างความเสียหายขั้นรุนแรง แต่อิสราเอลก็ไม่ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบอีกทั้งปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าพวกเขาไม่ได้อยู่เบื้องหลังการล้างแค้นดังกล่าว
แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญหลายครั้งเกิดขึ้นจากฝีมือของหน่วยสืบราชการลับอิสราเอล ที่เรียกตัวเองว่าพวก มอสสาด (Mossad)
หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติการด้วยความรุนแรงทั้งอย่างลับๆ และอย่างโจ่งแจ้งมาช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็พบว่าการใช้ความุรนแรงไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด ผู้นำของ PLO และอิสราเอล ยอมหันหน้าเข้าหากัน โดยเจรจาผ่านทางสหประชาชาติในปี 1972
การประนีประนอมครั้งนี้เป็นผล ก่อให้เกิดการลงนามใน "ข้อตกลงสันติภาพออสโล ฉบับที่ 1" ในปี 1993 เป็นการประกาศว่าโลกยอมรับให้มีดินแดนปกครองตนเองที่ชื่อปาเลสไตน์ ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่า 
จากข้อตกลงสันติภาพดังกล่าว ทำให้นายอาราฟัต ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1994 ร่วมกับ พลเอกยิตซัค ราบิน (Yitzhak Rabin) และ นายชิมอน เปเรส (Shimon Peres) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลในสมัยนั้น 
แต่แล้วความสงบสุขก็อยู่ได้ไม่นาน เมื่อกลุ่มชาวยิวหัวรุนแรงในอิสราเอล ไม่พอใจท่าทีที่ยอมอ่อนข้อของนายกฯ ราบิน จึงเกิดการลอบสังหารขึ้น ในปี 1995 ตามด้วยการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์ จากนั้นสันติภาพก็ลอยห่าง ความขัดแย้งทวีเพิ่มขึ้น แม้นายอาราฟัตจะได้เป็นประธานาธิบดีปาเลสไตน์ในปีถัดมา แต่ความนิยมในตัวเขาก็ลดลงเนื่องจากผู้คนเห็นว่าเขาอ่อนข้อให้อิสราเอลจนเกินไป
หนำซ้ำ นายอาเรียล ชารอน (Ariel Sharon) นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิสราเอล ก็มีทีท่าแข็งกร้าว ไม่ยอมเจรจากับเขา เนื่องจากเห็นว่านายอาราฟัตยังแอบหนุนให้มีการใช้ความรุนแรงกับอิสราเอลอยู่
เสรีภาพที่ได้มาทำให้ชาวปาเลสไตน์ปิติยินดี ออกมาฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ มีการยิงปืนขึ้นฟ้าและลุกลามไปถึงขั้นจุดไฟเผาทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวยิว จากนั้นก็ชักธงชาติปาเลสไตน์ขึ้นยอดเสา
แต่ขณะเดียวกันชาวยิวบางส่วนที่ยังอาศัยอยู่ในดินแดนนี้ก็เกิดความไม่พอใจ ออกมาก่อความวุ่นวายตามท้องถนนจนเกิดเป็นจลาจลไปทั่วเมือง 
ปัญหาปาเลสไตน์นับเป็นประเด็นความขัดแย้งที่สำคัญยิ่งของโลก เพราะมีมหาอำนาจหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ที่ผ่านมาได้มีความพยายามกันแล้วหลายครั้งหลายคราที่จะแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการเจรจาแบบสันติวิธี แต่ท้ายที่สุดความพยายามเหล่านั้นก็ล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า
ส่วนคณะปกครองปาเลสไตน์หรือรัฐบาลปาเลสไตน์ภายใต้การนำของกลุ่มฟาตะห์ (ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหลังการเจรจาสันติภาพที่กรุงมาดริดในปี ค.ศ.1993) ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่า การให้ความหวังต่อชาวปาเลสไตน์ทั้งมวลว่า พวกเขาจะได้รัฐเอกราชกลับคืนมา
อันจะเป็นดินแดนที่ประกอบไปด้วยพื้นที่เหล่านี้รวมกันคือ ฉนวนกาซ่า ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (West Bank) และเยรูซาเล็มตะวันออก
ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นดินแดนที่อิสราเอลยึดครองอย่างผิดกฎหมาย มาตั้งแต่หลังสงคราม วันในปี ค.ศ.1967 
ตั้งแต่ปี ค.ศ.1993 ที่กระบวนการสันติภาพได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งมีการตกลงเห็นพ้องกันว่า รัฐปาเลสไตน์จะได้รับการสถาปนาขึ้นภายในอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้น แต่จนกระทั่งถึงบัดนี้ ชาวปาเลสไตน์ยังคงมีแต่ความว่างเปล่า ไม่เคยได้อะไรจากความหวังที่ตนตั้งหน้าตั้งตารอคอยเลย
มิหนำซ้ำพวกเขากลับต้องทนทุกข์ทรมานจากมาตรการทางทหาร และการปิดกั้นทางเศรษฐกิจของฝ่ายอิสราเอล
ส่วนทางด้านคณะปกครองปาเลสไตน์นั้น นับวันก็ยิ่งสร้างความผิดหวังให้แก่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพราะนอกจากจะไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว ยังมีการคอร์รัปชั่นกันภายในอย่างมโหฬารและมีความแตกแยกกันเองภายในกลุ่ม
มิหนำซ้ำ นายยัซเซอร์ อารอฟัต ผู้นำหนึ่งเดียวของฟาตะห์ที่เป็นวีรบุรุษและสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ กลับต้องมาจบชีวิตลงในช่วงเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อนี้อีกด้วย
เมื่อต้นปี ค.ศ.2006 พรรคฮามาสชนะในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ยังความไม่พอใจให้แก่กลุ่มอำนาจเก่าอย่างฟาตะห์เป็นอย่างยิ่ง นับจากนั้นเป็นต้นมากระบวนการที่จะโค่นล้มรัฐบาลฮามาสจึงเริ่มต้นขึ้น ทั้งจากภายในและภายนอกโดยมีสหรัฐฯและอิสราเอลเป็นแกนนำ
แม้รัฐบาลฮามาสจะพยายามประนีประนอม โดยยอมแบ่งสรรอำนาจให้กลุ่มฟาตะห์อย่างที่ไม่เคยมีพรรคการเมืองที่ไหนทำกัน แต่ความพยายามเหล่านั้นก็ไม่เป็นผล ท้ายที่สุดเหตุการณ์จึงจบลงด้วยการปะทะต่อสู้กันอย่างดุเดือด เป็นสงครามกลางเมืองภายใน
อันนำไปสู่การยึดอำนาจในเมืองกาซ่าโดยพรรคฮามาส ในขณะที่กลุ่มฟาตะห์ก็หันไปยึดครองเวสต์แบงค์ และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ที่นั่นเมื่อช่วงกลางปี 2007
ซึ่งก็เท่ากับว่า ขณะนี้ดินแดนปาเลสไตน์ในอดีตไม่ได้ถูกแบ่งออกเป็น ส่วนตามที่เข้าใจกันอีกต่อไปแล้ว แต่ยังเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งส่วน กลายเป็น ส่วน คือ 1. อิสราเอล 2. กาซ่าภายใต้การนำของรัฐบาลฮามาส และ 3. เวสต์แบงค์ภายใต้การนำของรัฐบาลฟาตะห์
แน่นอนความแตกแยกในหมู่ปาเลสไตน์ในลักษณะเช่นนี้ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ 

การพึ่งพาอาศัยกัน


การพึ่งพาอาศัยกัน




การพึ่งพาอาศัยกัน
การพึ่งพา  การแข่งขัน  การขัดแย้ง  และการประสานประโยชน์กันเป็นปกติในวิสัยของมนุษยชาติ  เนื่องจากสังคมมนุษย์ได้พัฒนาขึ้น มาจากพื้นฐานที่แตกต่างกันทั้งทางด้านเชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์ สิ่งแวดล้อม  ผลประโยชน์  ความเชื่อ  และวัฒนธรรมประเพณี  จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันของมนุษย์ที่อยู่ในโลก  และ  การร่วมมือกันระหว่างประเทศ  เพื่อประโยชน์ของประชากรของแต่ละประเทศ  ซึ่งองค์กร ความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็จะเป็นรูปแบบหนึ่งของการพึ่งพากัน  และการประสานประโยชน์ ร่วมกัน  ซึ่งผลขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามารถสรุปได้ดังนี้
ความขัดแย้ง    
            สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งของประเทศต่างๆได้แก่  การแข่งขันกันทางอาวุธ  และความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์และสังคมวัฒนธรรม  ตลอดจนผลประโยชน์ทางด้าน เศรษฐกิจ  ซึ่งความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ  เกิดมาจากการที่แต่ละประเทศมีทรัพยากร เพื่อการผลิตสินค้าและบริการที่ไม่เหมือนกัน และการจัดสรรทรัพยากรของแต่ละประเทศ มีจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน  รวมทั้งการมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด   จึงเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้ง กันในระหว่างประเทศได้  ตลอดจนอุดมการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ  ผู้นำประเทศของแต่ละประเทศ ที่ต้องการรักษาความมั่นคงให้เกิดขึ้นแก่ประเทศตน  และทำให้ประชาขนของตนได้กินดีอยู่ดี  แต่โดยทั่วไปแล้ว  ประเทศต่างๆย่อมมีความอุดมสมบูรณ์  และทรัพยากรที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ ไม่เท่าเทียมกัน  และไม่เพียงพอต่อความต้องการ  จึงทำให้มีการใช้กำลังเข้าบุกรุก  ขับไล่  และละเมิดอธิปไตยของประเทศอื่น  เพื่อตนจะได้เข้าครอบครองความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร นั้น  อันจะช่วยให้ประชาชนของประเทศตนได้อยู่ดีกินดี  ทำให้เกิดความขัดแย้ง  และเกิดกรณี พิพาทขึ้น  ตัวอย่างเช่น สงครามระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี  อันมีสาเหตุมาจากการแข่งขันกัน เข้าไปครอบครองดินแดนอัลซาสและลอเรน  ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่เหล็ก และถ่านหินที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม สงครามในครั้งนี้นับว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไป สู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1  สงครามอ่าวเปอร์เซียระหว่างอิรักและกองกำลังสหประชาชาติ  ในกรณีที่อิรักเคลื่อนกำลังเข้ายึดครองคูเวต  ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันจำนวนมหาศาลในเอเชีย ตะวันตกเฉียงใต้  เป็นต้น
            นอกจากนี้  ยังต้องการดำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศ  ซึ่งได้แก่  ความอยู่รอด  ความมั่นคง  และศักดิ์ศรีของชาติ  เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปกป้อง  คุ้มครอง  และรักษาไว้  เพื่อให้ประชาชนของประเทศมีความปลอดภัย  มีสันติสุข  และอยู่ดีกินดี  หากมีเหตุการณ์ ที่บ่งชี้ว่าจะกระทบกระเทือนผลประโยชน์ดังกล่าว  รัฐบาลของประเทศนั้นๆก็จะต้องมีปฏิกิริยา ต่อต้านและตอบโต้  ซึ่งย่อมทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ ซึ่งความขัดแย้งทางด้านทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ  ก่อให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ  เพื่อเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งทางด้านทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  และเกิดประโยชน์ แก่ประชาชนภายในประเทศมากที่สุด
การประสานประโยชน์       
            การประสานประโยชน์เป็นการร่วมมือเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตน  ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการระงับกรณีพิพาทที่มาจากการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  การประสานประโยชน์มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม  อันเป็นการรักษาผลประโยชน ์ร่วมกันของทุกฝ่าย  ซึ่งจะสามารถหลักเลี่ยงความขัดแย้ง  ร่วมมือกันแก้ปัญหาที่ต่างก็เผชิญอยู่ และพึ่งพาอาศัยและแลกเปลี่ยนความรู้กันมากขึ้นทาง ด้านเทคโนโลยีการผลิต  กระบวนการ ผลิต  ความรู้ทางด้านการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิต สินค้าและบริการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนภายในประเทศ  ซึ่งการประสาน ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจะอยู่ในรูปของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ของประเทศต่างๆให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  เช่น  การค้าแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิตกันระหว่าง ประเทศ  เป็นต้น  และการร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจยังเป็นการลดความขัดแย้งกันในทาง เศรษฐกิจและเป็นกำลังที่สำคัญ ในการต่อรองด้านการค้าระหว่างประเทศ  ซึ่งประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ  ได้แก่  สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งเป็นองค์กรที่รักษาผลประโยชน์แก่ประเทศ สมาชิกในด้านเศรษฐกิจ  ซึ่งประเทศไทยก็เป็นสมาชิกองค์กรดังกล่าว  นอกจากนี้  ประเทศไทยยังเข้าร่วมกับองค์กรทางเศรษฐกิจขององค์การสหประชาชาติ  ทำให้ไทยได้รับ ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ  เพื่อยกประดับความเป็นอยู่ของประชาชน  ได้รับ ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน  ด้านบุคลากร  เทคโนโลยี  และวิธีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของไทย  นอกจากนี้  ไทยยังได้อาศัยองค์การต่างๆเหล่านี้  เช่นองค์การการค้าโลก  เป็นเวทีที่จำนะเสนอหรือเรียกร้องให้การค้าระหว่างประเทศเป็นธรรม  หรือลดการเอารัด เอาเปรียบไทยได้บ้าง และเมื่อไทยประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงใน พ.ศ. 2540 – 2541  ไทยก็ได้อาศัยเงินช่วยเหลือที่องค์การการเงินระหกว่างประเทศให้กู้ยืมมา  ดังนั้น  การประสานประโยชน์กันในรูปขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจจะทำให้ประเทศสมาชิกได้รับ ผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ตลอดจนการส่งเสริมให้ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศสมาชิก
การพึ่งพากัน    
การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่างๆในด้านการรวมตัวเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็ เนื่องมาจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ  ซึ่งการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  และเน้นภาคธุรกิจหรือ ผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรม  ยิ่งกว่านั้น  เมื่อกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น  ย่อมทำให้ สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งระบบการค้า  มักจะถือกันว่าเป็นรูปแบบ ของกระบวนการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ  อัตราส่วนของการค้าต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ  ขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงประเทศนั้น  มีการพึ่งพิงระบบการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย  ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศต้องอาศัยการพึ่งพากันทางการค้า และการลงทุน  ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ  ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ  เพื่อให้ประเทศสมาชิกในองค์กรได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆได้  เช่น  ความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้  ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว  และได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มในด้าน การพึ่งพาอาศัยกัน  เช่น แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าหรือใช้ปัจจัยการผลิตที่ประเทศตนเอง สามารถผลิตได้  กล่าวคือ  ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช  อินโดนีเซียและ มาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล  และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต  ซึ่งแต่ละประเทศมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทำให้ส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศได้มากขึ้น  ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้นด้วย  ดังนั้นการพึ่งพาอาศัยกันในรูปของการร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ  ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และองค์กรที่มีความเข้มแข็งสามารถต่อรองทางการค้ากับประเทศต่างๆได้
การแข่งขัน    
            ในสภาวการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน  ประเทศต่างๆมีการแข่งขันทางด้านการค้าระหว่าง ประเทศ  และการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างตลาดให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน  ตลอดจนความ ได้เปรียบของประเทศที่สามารถผลิตสินค้าที่มีปริมาณน้อย  แต่มูลค่าของสินค้าสูง  ซึ่งจะเป็น สินค้าเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสินค้าอุตสาหกรรม  เมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศ ที่มีผลผลิตส่งออกไปขายต่างประเทศในรูปของสินค้าเกษตรกรรม  ซึ่งมีมูลค่าน้อยทำให้เกิดความ ได้เปรียบเสียเปรียบขึ้น  จึงเป็นต้นเหตึให้เกิดการรวมตัวหรือรวมกลุ่มทางการค้าขึ้น  โดยจัดตั้งเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะได้มีอำนาจต่อรองทางการค้า กับประเทศคู่ค้า  ซึ่งประเทศใดมิได้รวมกลุ่มทางการค้า  ย่อมทำให้ประเทศนั้นไม่สามารถแข่งขัน กับประเทศอื่นๆได้  ทำให้ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจล่าช้าไม่ทันกับประเทศอื่น  นอกจากนี้ความล้าหลังของผลผลิตและความไม่ทันยุคสมัยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องมีการแข่งขันระหว่างประเทศ  เช่น  ประเทศสหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1980 ที่ผู้ผลิตรถยนต์ภายในประเทศไม่สามารถ แข่งขันรถยนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ  อันเนื่องมาจากมูลค่าของรถยนต์ต่างประเทศ มีมูลค่าต่ำกว่าภายในประเทศ  เป็นต้น  ดังนั้น  การร่วมมือกันในการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจจะช่วยให้ประเทศสมาชิกสามารถ แข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ  และมีการแลกเปลี่ยนผลผลิตภายในองค์กร  ทำให้ประเทศสมาชิกไม่ต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศนอกองค์กร  ทั้งยังสามารถต่อรองการค้ากับประเทศคู่ค้าได้  นอกจากนี้การรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านการค้า  ส่งผลให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ  เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคได้หลากหลายมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเกิดการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
คุณธรรมและการรู้เท่าทัน    
            ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าในระดับสูง  ทำให้แต่ละประเทศต้องหา นโยบายและมาตรการต่างๆในการแข่งขันการค้ากับต่างประเทศ  ซึ่งบางมาตรการส่งผลกระทบ ต่อประเทศอื่นๆ  ทำให้ประเทศเหล่านั้นไม่สามารถแข่งขันหรือทำการค้าได้  เช่น  มาตรการ กำหนดกำแพงภาษี  ซึ่งเป็นการกีดกันสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ  และทำให้สินค้ามี ราคาสูงขึ้น  ไม่สามารถขายภายในประเทศได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบ กับประเทศเหล่านั้น  เพราะบางประเทศส่งสินค้าออกขายยังต่างประเทศ ในรูปของสินค้าภาคเกษตร  แต่บางประเทศส่งสินค้าออกขายยังต่างประเทศในรูปของสินค้า ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่า  ย่อมเป็นการเอาเปรียบกับประเทศคู่ค้าที่เป็น สินค้าเกษตรกรรม  ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ  โดยจัดตั้งเป็นองค์กร การร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศที่เสียเปรียบทางการค้า  ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการค้าระหว่างประเทศ  และมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในการร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก  นอกจากนี้ยังช่วยให้การค้าระหว่างประเทศ มีศักยภาพมากขึ้น  กล่าวคือ  เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการมีความก้าวหน้า และทันสมัยมากขึ้น  ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง  เมื่อประเทศต่างๆมีการร่วมมือทาง เศรษฐกิจกันแล้วย่อมเกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน  ทำให้ประเทศสมาชิกมี การผลิตสินค้าและบริการที่สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆที่อยู่นอกองค์กรได้  ส่งผลให้ เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกมีการเจริญเติบโตมากขึ้นตามไปด้วย